แจกเงินดิจิทัล 1 หมื่นบาท กระตุ้น 1% ของ GDP อาจได้ไม่คุ้มเสีย

เสียงค้านนโยบายแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท เริ่มดังขึ้น จากทั้งอดีตผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ และบุคคลสำคัญในแวดวงการเงินของประเทศกว่า ร้อยคน รวมถึง KKP Research โดยกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร โดยระบุว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ทั้งการแจกเงิน การอุดหนุนราคาพลังงาน และการพักหนี้ ที่มีต้นทุนสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ ทำให้เกิดคำถามหลายด้านถึงความเหมาะสมและต้นทุนที่จะเกิดขึ้นจากนโยบายเหล่านี้

2 อดีตผู้ว่าแบงก์ชาติ ร่วมลงชื่อค้าน แจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท

เปิดคำสั่งเศรษฐานั่งหัวโต๊ะประชุม เงินดิจิทัล 10,000 บาท นัดแรก

ไม่ว่าจะเป็น นโยบายแบบแจกเงินแบบเหวี่ยงแห ซึ่งมีต้นทุนสูงมีความเหมาะสมหรือไม่ ท่ามกลางข้อจำกัดด้านการคลัง และสถานการณ์เศรษฐกิจที่ใกล้กลับเข้าสู่ภาวะปกติ เพราะฉะนั้นการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น มีความคุ้มค่าเพียงใด และมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด

ที่สำคัญคือ ผลได้ผลเสีนของนโยบายในระยะยาว เมื่อทรัพยากรทางการคลังที่เน้นผลระยะสั้นมีต้นสูง ทำให้มีข้อจำกัดการสร้างความเสี่ยงทางการคลังและเศรษฐกิจ และผลกระทบในในทางลบ ทั้งการบั่นทอนวินัยทางการเงินและการต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากรัฐ และผลกระทบต่อดุลบัญชีเดินสะพัด ซึ่งจะกระทบต่อเสถียรภาพของอัตราดอกเบี้ยและค่าเงินบาทได้

นอกจากนี้ ด้วยข้อจำกัดและความเสี่ยงทางการคลังที่จะมากขึ้นเรื่อย ๆ จะทำให้ทรัพยากรมีเหลืออยู่น้อยลงในการจัดการกับปัญหาเชิงโครงสร้างที่สำคัญกว่าต่อเศรษฐกิจไทยในระยะยาว

ย้อนอดีตกับนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของไทย

รัฐบาลไทยในอดีตเคยมีการใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่มาแล้วหลายครั้ง KKP Research ประเมินว่าการทำนโยบายเศรษฐกิจกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นในอดีต เป็นช่วงที่ประเทศไทยได้รับประโยชน์จากแรงหนุน (tailwinds) จากปัจจัยภายนอก เช่น การฟื้นตัวหลังของเศรษฐกิจโลกหลังวิกฤตเศรษฐกิจ การอ่อนค่าของค่าเงินบาทหลังวิกฤติปี 1997 ที่ช่วยสนับสนุนการส่งออก วัฏจักรราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับขึ้นส่งผลต่อรายได้ในภาคเกษตร ทั้งหมดล้วนเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ดี และอาจทำให้ดูเหมือนว่านโยบายระยะสั้นที่ทำในช่วงเวลานั้นเป็นนโยบายที่ประสบความสำเร็จอย่างดี ในขณะที่ข้อจำกัดด้านด้านการคลังและต้นทุนต่อเศรษฐกิจไทยในอดีตอาจจะไม่ได้สูงมาก

บริบทเศรษฐกิจเปลี่ยน นโยบายกระตุ้นแบบเดิม แต่ผลไม่เหมือนเดิม

แต่ในบริบทปัจจุบัน ปัจจัยที่เคยเป็นแรงหนุน (tailwinds) กลับกลายเป็นแรงต้าน (headwinds) ต่อเศรษฐกิจไทยมากขึ้นกว่าเดิม อาจทำให้การดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นภายใต้สถานการณ์แบบปัจจุบันจะส่งผลให้ทั้งประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจลดน้อยลง และมีต้นทุนต่อเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นกว่าในอดีตอย่างมาก เช่น เศรษฐกิจโลก สินเชื่อในประเทศที่ชะลอตัว และอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น ทำให้เศรษฐกิจไทยกำลังเจอแรงต้านที่สำคัญ

 แจกเงินดิจิทัล 1 หมื่นบาท กระตุ้น  1% ของ GDP อาจได้ไม่คุ้มเสีย

รวมถึงข้อจำกัดด้านเศรษฐกิจของไทยมีมากขึ้นในปัจจุบัน ทั้งด้านต่างประเทศที่ดุลบัญชีเดินสะพัดอยู่ในระดับต่ำลงและด้านการคลังที่หนี้สาธารณะเพิ่มสูงขึ้นมากจึงเป็นความเสี่ยงต่ออัตราดอกเบี้ยในตลาดพันธบัตรและค่าเงินบาท ซึ่งจะเห็นว่าปัญหาเหล่านี้อาจไม่สามารถแก้ได้ด้วยเพียงการกระตุ้นอุปสงค์ผ่านการแจกเงิน

KKP ประเมินแจกเงินและมาตรการกระตุ้นใช้งบ 3.6% ของ GDP แต่กระตุ้นเศรษฐกิจได้เพียง 1%คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

ซึงการขาดดุลการคลังต่อปีที่เพิ่มขึ้นของภาครัฐและต้นทุนอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นอาจทำให้หนี้สาธารณะแตะกรอบบนที่ 70% ได้เร็วขึ้นภายในระยะเวลาไม่ถึง 10 ปี

ต้นทุนเศรษฐกิจที่คาดไม่ถึง

KKP Research ยังกังวลต่อผลกระทบทางอ้อมที่ซึ่งไม่ได้มีเฉพาะต้นทุนทางการคลังแต่จะยังส่งผลต่อเศรษฐกิจและตลาดการเงินในอีกหลายมิติ โดยเฉพาะต้นทุนที่สำคัญที่สุด คือต้นทุนค่าเสียโอกาสในการนำเงินไปใช้เพื่อสนับสนุนการปฏิรูปเศรษฐกิจไทยเชิงโครงสร้างในระยะยาว การใช้จ่ายในจำนวนเงินมากถึง 560,000 ล้านบาทจะทำให้รัฐบาลไทยมีต้นทุนค่าเสียโอกาสในการนำเงินไปใช้ลงทุนในโครงการอื่น ๆ ที่เกิดประโยชน์กับเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนในระยะยาว

นโยบายเศรษฐกิจยังไม่ตรงจุด

KKP Research ประเมินว่านโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลปัจจุบันที่เน้นเฉพาะการกระตุ้นอุปสงค์ระยะสั้นอาจเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ตรงจุด โดยเฉพาะการแจกเงินให้กับคนทั้งประเทศซึ่งอาจไม่มีความจำเป็นและสร้างภาระต้นทุนภาครัฐที่สูงจนเกินไป ดังนั้นมาตรการให้ความช่วยเหลือแบบเฉพาะกลุ่ม (targeted measures) ที่มีความเดือดร้อนจากปัญหาเศรษฐกิจและรายได้ที่ชะลอตัว ซึ่งจะเหมาะสมมากกว่ากับบริบทของเศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัวแล้วแต่ยังไม่ทั่วถึง หรือมีมาตรการในการคัดกรองผู้รับความช่วยเหลือ ซึ่งจะสามารถลดต้นทุนในการดำเนินนโยบายได้มากและมีประสิทธิผลคุ้มค่ากว่าแจกถ้วนหน้าแบบไม่เจาะจง

By admin

Related Post