จีนเผย พัฒนาวิธีป้องกัน “อาวุธเลเซอร์” สำเร็จ ใช้เพียง “เรซิน” ราคาถูก

เมื่อพูดถึง “อาวุธเลเซอร์” (Laser Weapon) หากเป็นคอเกมหรือคอภาพยนตร์ไซไฟ คงจะนึกถึงภาพลำแสงพลังงานสูงที่สามารถยิงทะลุทะลวงได้ทุกสิ่ง แต่ในความเป็นจริง เลเซอร์ที่ใช้เพื่อการทหารนั้น จะมีลักษณะเป็นลำแสงที่ไม่ได้ยิงทะลุวัตถุ แต่ทำให้เกิดความร้อนสูงจนพื้นผิวที่กระทบลุกไหม้ รวมถึงหากมีความเข้มข้นมากพอ ก็อาจทำให้เกิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งจะทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่โดนคลื่นใช้การไม่ได้

ด้วยคุณสมบัติดังกล่าวของอาวุธเลเซอร์ ทำให้มันสามารถสร้างความเสียหายหรือรบกวนโดรน ขีปนาวุธ และเรือลำเล็ก ๆ ได้ และมักถูกติดตั้งเป็นอาวุธต่อต้านโดรนและขีปนาวุธไว้ตามเรือรบ

ในปัจจุบัน หลายประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐฯ ยังคงเดินหน้าพัฒนาอาวุธเลเซอร์ของตัวเองอย่างต่อเนื่อง โดยมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วในโครงการอาวุธความเร็วเหนือเสียงในจีน รัสเซีย เกาหลีเหนือ และอิหร่าน เป็นปัจจัยขับเคลื่อนที่สำคัญ

พล.ร.อ ไมเคิล กิลเดย์ หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการทางเรือของสหรัฐฯ กล่าวว่า การพัฒนาอาวุธความเร็วเหนือเสียงของศัตรูทำให้อาวุธเลเซอร์ “มีความสำคัญสูงสุด” สำหรับกองทัพสหรัฐฯ

เบื้องหลังปาฏิหาริย์ เด็ก 4 คนหลงป่าแอมะซอน 40 วัน รอดชีวิตได้อย่างไร?

ทางหลวงระหว่างรัฐ พังถล่ม หลัง รถบรรทุกน้ำมันไฟลุกไหม้ด้านล่าง

กลาโหมรัสเซียลงนามคำสั่งฉบับใหม่ หวังฮุบ “แวกเนอร์”

มีรายงานว่า กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ใช้งบประมาณ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 3.4 หมื่นล้านบาท) ต่อปี ในการพัฒนาอาวุธเลเซอร์ เพราะอาวุธที่มีความเร็วเหนือเสียงนั้นยากต่อการสกัดกั้น อาวุธเลเซอร์จึงถูกมองว่าเป็นมาตรการตอบโต้ที่สำคัญ เนื่องจากลำแสงเลเซอร์สามารถเดินทางถึงเป้าหมายด้วยความเร็วแสง

ในขณะเดียวกัน บางประเทศก็มีการศึกษาหาวิธีป้องกันอาวุธเลเซอร์ของสหรัฐฯ อีกทีหนึ่ง เพื่อป้องกันไม่ให้โดรนหรือขีปนาวุธของตนถูกเลเซอร์ทำลายได้ (ในกรณีที่ต้องโจมตีสหรัฐ)

ล่าสุดมีรายงานว่า นักวิทยาศาสตร์ในประเทศจีนที่ศึกษาเรื่องการป้องกันโดรนและขีปนาวุธจากการโจมตีด้วยเลเซอร์เผยว่า ได้ค้นพบวิธีป้องกันที่มีประสิทธิภาพและง่ายอย่างไม่น่าเชื่อ นั่นคือการใช้ “เรซิน” (Resin)

นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า จากการทดลองพบว่า เรซินราคาต่ำที่หาได้ทั่วไปสามารถปกป้องโดรนและขีปนาวุธจากการถูกทำลายโดยอาวุธเลเซอร์ได้

ในการทดลอง ในการทดลอง นักวิจัยเคลือบผิวตัวอย่างทดลองด้วยสารเคลือบที่ส่วนใหญ่ทำจากโบรอนฟีนอลเรซิน (BPR) ซึ่งเป็นวัสดุคอมโพสิตที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในสภาพแวดล้อมที่ร้อนและมีความเครียดสูง โดยเคลือบให้มีความหนา 2.5 มิลลิเมตร จากนั้นนำไปยิงด้วยลำแสงเลเซอร์

 จีนเผย พัฒนาวิธีป้องกัน “อาวุธเลเซอร์” สำเร็จ ใช้เพียง “เรซิน” ราคาถูก

ผลการทดลองปรากฏว่า ตัวอย่างที่เคลือบด้วยวัสดุเรซินไม่มีร่องรอยบุบสลายหลังจากถูกลำแสงเลเซอร์ระดับอาวุธทางทหารโจมตีเป็นเวลา 15 วินาที ด้วยความหนาแน่นของพลังงาน 500 วัตต์/ตร.ซม. ซึ่งรุนแรงเกิดพอที่จะทำลายขีปนาวุธที่ไม่มีการป้องกันมากนักได้ (ในทางทฤษฎี อาวุธเลเซอร์ขนาด 3 เมกะวัตต์สามารถสกัดกั้นขีปนาวุธที่พุ่งเข้ามาได้ ด้วยความหนาแน่นของพลังงานเพียง 300 วัตต์/ตร.ซม.)คำพูดจาก รวมเว็บ PG Slot

นั่นแสดงให้เห็นว่า การใช้เรซินเคลือบเป็นเกราะป้องกันให้กับโดรนหรือขีปนาวุธ อาจจะสามารถช่วยป้องกันพวกมันจากอาวุธเลเซอร์ได้

ณ วันนี้ อาวุธเลเซอร์ที่ทรงพลังที่สุดในโลกเป็นอาวุธของกองทัพสหรัฐฯ สร้างลำแสงเลเซอร์ขนาด 300 กิโลวัตต์ แต่ยังไม่มีระบบเลเซอร์กำลังขนาดเมกะวัตต์ โดยอยู่ระหว่างการพัฒนา

ที่สำคัญคือ จีนเป็นผู้ผลิต BPR รายใหญ่ที่สุดในโลก โดยโรงงานแห่งเดียวสามารถผลิต BPR ได้หลายแสนตันต่อปี รวมถึงยังมีราคาไม่แพง ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ราคาเฉลี่ยของเรซินลดลงต่ำถึง 7 หยวน (ราว 34 บาท) ต่อกิโลกรัม

เกา หลี่หง จากสถาบันเทคโนโลยีปักกิ่ง หัวหน้าทีมวิจัย กล่าวว่า การเปลี่ยน BPR ทั่วไปให้เป็นสารเคลือบป้องกันเลเซอร์พลังงานสูงนั้น ใช้เวลาและขั้นตอนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

“วิธีการนี้ใช้วัตถุดิบต้นทุนต่ำ กระบวนการผลิตที่เรียบง่าย และมีประสิทธิภาพการทำงานที่สูงมาก” เธอกล่าว

ทีมวิจัยของเการะบุว่า เดิมทีมีการนำ BPR มาใช้กับขีปนาวุธและโดรนความเร็วสูงหลายตัวอยู่แล้วเพื่อเป็นชั้นป้องกันความร้อน แต่ลำแสงพลังงานเลเซอร์ หากโฟกัสและรุนแรงเพียงพอ จะสามารถเผาไหม้วัตถุที่เคลือบ BPR แบบดั้งเดิมจนเป็นรูได้ในเวลาเพียงไม่กี่วินาที

ดังนั้น ทีมวิจัยจึงทดลองนำสารประกอบอนินทรีย์ เช่น ซิลิกอนคาร์ไบด์ เซอร์โคเนียมไดออกไซด์ และผงนาโนคาร์บอนแบล็ก มาเพิ่มลงในเรซินดั้งเดิม ผลที่ได้คือคอมโพสิตใหม่ภายใต้ชื่อรหัส “BPR-1”

ทีมวิจัยระบุว่า “จากทดลองยิงด้วยเลเซอร์ เมื่อเวลาผ่านไป วัสดุสีขาวปรากฏขึ้นในบริเวณที่ลอกออกของ BPR-1 แต่บริเวณที่โดนความร้อนยังคงสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ไม่มีการหลุดลอกหรือความเสียหายกับสารเคลือบที่เห็นได้ชัด”

หลังจากใช้เลเซอร์เป็นเวลา 15 วินาที สารเคลือบ BPR-1 มีอุณหภูมิพื้นผิวสูงสุดที่ 230 องศาเซลเซียส ซึ่งไม่ร้อนพอที่จะสร้างความเสียหายให้กับโลหะผสมอะลูมิเนียมที่ใช้ในอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ ที่มีจุดหลอมเหลวต่ำสุดที่ 400 องศาเซลเซียส

การวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการยังแสดงให้เห็นว่า มีอนุภาคทรงกลมจำนวนมากปรากฏขึ้นและหลอมรวมเข้าด้วยกันที่ด้านล่างของหลุมที่ระเหิดไปจากการถูกยิงเลเซอร์ รวมถึงพบวัสดุคล้ายแก้วหลอมเหลวทั่วบริเวณที่ได้รับความร้อน

นักวิจัยกล่าวว่า อนุภาคและวัสดุคล้ายแก้วดังกล่าวน่าจะถูกสร้างขึ้นจากสารประกอบที่เพิ่มเข้ามา ก่อตัวเป็นเกราะป้องกันที่เติมเต็มช่องว่างในเรซินเพื่อป้องกันความเสียหายเพิ่มเติม

นักวิจัยจีนรายหนึ่งซึ่งไม่ขอเปิดเผยชื่อให้ความเห็นว่า ความสำเร็จของการวิจัยนี้ อาจเป็นเหมือน “การนำวัสดุมูลค่า 1 ดอลลาร์มาทำให้เทคโนโลยีอาวุธมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ไร้ประโยชน์”

เรียบเรียงจาก SCMP

ภาพจาก AFP

By admin

Related Post